อีกวิธีคำนวณทุนประกันที่เหมาะสม ก็คือขึ้นอยู่กับ “ค่าความสามารถในการหารายได้” ของคุณนั่นเองค่าความสามารถในการหารายได้ มันก็คือ มูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือถ้าเข้าใจง่ายๆ ก็คือ “ค่าตัว”ที่คุณสร้างขึ้นมา มาดูกันว่า พิจารณาจากอะไรบ้าง
รายได้: รายได้ต่อปี โบนัส ค่าคอมมิชชั่น ฯลฯ
อาชีพ: ความมั่นคงของอาชีพ ความเสี่ยงของอาชีพ โอกาสในการเติบโตของรายได้ ฯลฯ
อายุ: ระยะเวลาที่คาดว่าจะยังคงทำงาน
สุขภาพ: สุขภาพที่ดีส่งผลต่อความสามารถในการทำงาน
การศึกษา: วุฒิการศึกษา ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ ฯลฯ
มาดูตัวอย่างกันครับ
นาย B อายุ 35 ปี
รายได้: เดือนละ 80,000 บาท หรือ 960,000 บาทต่อปี
อาชีพ: วิศวะกร
อายุ: คาดว่าจะเกษียณอายุที่ 60 ปี
สุขภาพ: แข็งแรง
.ตัวอย่าง1: คำนวณจากรายได้ทั้งหมดที่คาดว่าจะหามาได้จนเกษียณ
จำนวนปีที่ทำงาน: 60 – 35 = 25 ปี
ค่าความสามารถในการหารายได้: รายได้ต่อปี 960,000 x จำนวนปีจนเกษียณอายุ 25 = 24 ล้านบาท
โดยที่จำนวนนี้ อาจจะดูสูงไปซักนิด เนื่องจาก ระยะเวลาที่ใช้คำนวณค่อนข้างยาว (25 ปี)
ในทางปฏิบัติจึงมีการประเมินทุนประกันที่สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยแนะนำให้มีทุนประกัน ประมาณ 5-10 เท่า ของรายได้ต่อปี
.ตัวอย่าง 2: คำนวณจากรายได้ต่อปี x จำนวนปี
.ทุนประกัน: รายได้ต่อปี 960,000 x 5 = 4.8 ล้านบาท
.สมมติฐาน: หากหัวหน้าครอบครัวต้องจากไปก่อน ภรรยาซึ่งเป็นแม่บ้าน หรือบุคคลในครอบครัวคนอื่นๆ จะมีระยะเวลาในการปรับตัว ประมาณ 5 ปี เพื่อเสริมทักษะให้ตนเอง หาช่องทางในการสมัครงานหรือเริ่มธุรกิจใหม่ และสามารถสร้างรายได้มาทดแทนรวมถึงดูแลครอบครัว แทนหัวหน้าครอบครัวที่จากไปได้
หมายเหตุ:
-จำนวนปี ปรับได้ตามความเหมาะสม
-ใส่ตัวคูณเพิ่มได้ ตามประสบการณ์และศักยภาพที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี
เพิ่มเติม:
-ควรพิจารณาภาระหนี้สินต่างๆ ของครอบครัวด้วย
-ทุนประกันที่เพียงพอ ควรครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของครอบครัว
ทั้งนี้ ตัวเลขที่ได้เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ การคำนวณทุนประกันที่เหมาะสม ควรปรึกษาตัวแทนประกันมืออาชีพ เพื่อวิเคราะห์ความต้องการ เป้าหมายทางการเงิน และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันของแต่ละคนด้วยนะคร้าบ^^^
Leave a Reply