หลายคนอาจสงสัยเกี่ยวกับการจ่ายเบี้ยประกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการจ่ายในปีต่อ ๆ ไป หรือความกังวลว่าจะทำให้เงินตึงตัว บางคนอาจรู้ว่าประกันเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่แน่ใจว่าจะจัดสรรรายได้ยังไงไม่ให้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
การทำประกันออมทรัพย์ควรเป็นการตัดสินใจที่มาพร้อมกับการวางแผน ไม่ใช่แค่การซื้อประกันเพื่อให้ได้ลดหย่อนภาษีหรือลงทุน แต่ต้องมองภาพรวมของการเงินในระยะยาว
แอดขอแนะนำจัดสรรเบี้ยประกันให้เหมาะสม โดยพิจารณาตามปัจจัยต่อไปนี้ครับ
1. สัดส่วนเบี้ยประกันจากรายได้
โดยทั่วไป เบี้ยประกันควรอยู่ที่ 5-10% ของรายได้ต่อปี เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสมและไม่ส่งผลต่อการเงินในชีวิตประจำวัน
//ตัวอย่างการคำนวณ:
หมูเด้งมีรายได้เดือนละ 30,000 บาท หรือ ปีละ 360,000 บาท
อาจกันเงินไว้ที่ 10% = 36,000 บาทต่อปี หรือ 3,000 บาทต่อเดือน สำหรับจ่ายเบี้ยประกัน
2.ความสามารถในการชำระเบี้ย และภาระค่าใช้จ่ายที่มี
การจ่ายเบี้ยประกันไม่ควรเกินความสามารถการชำระ ควรตรวจสอบสถานะทางการเงินและกันเงินฉุกเฉินก่อน
ภาระหนี้สิน: เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ควรกันเงินสำหรับประกันในสัดส่วนที่ไม่กระทบต่อภาระเหล่านี้
กันเงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อย 3-6 เดือนของรายจ่ายประจำ ก่อนที่จะแบ่งเงินมาทำประกัน
ค่าใช้จ่ายประจำวัน: หลังจากจ่ายเบี้ยประกันแล้ว ยังมีเงินเหลือพอใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและออมเงินอยู่มั้ย
//ตัวอย่าง
หากมีรายได้เดือนละ 75,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายประจำเดือน 45,000 บาท ต่อเดือนจะเหลือเงิน 30,000 บาท
ขั้นแรก คุณควรจะมีเงินสำรองฉุกเฉิน ที่กันออกเอาไว้เลย เพื่อสภาพคล่องของเรา 6 เท่า ของรายจ่ายประจำ = 45000 X 6 = 270,000 ที่ควรมีอยุ่ในมือ โดยไม่ต้องเอามาซื้อ หรือลงทุนอะไร
สัดส่วนการทำประกันที่เหมาะสมคือ 5-10% ของรายได้ต่อปี หรือประมาณ 45,000 – 90,000 บาทต่อปี ซึ่งตัวอย่างแรกเราใช้ 10% แต่ในเคสนี้ เราสาารถปรับให้่เหมาะสมได้
เนื่องเหลือเงิน 30,000 บาทต่อเดือน การจ่ายเบี้ยประกันเดือนละ 3,750 – 7,500 บาท จะคิดเป็น 12-25% ของเงินที่เหลือ หลังหักค่าใช้จ่าย จะยังคงมีเงิน 22,500 – 26,250 บาทให้ใช้จ่ายหรือออมสำหรับเป้าหมายอื่นๆ
หากไม่ต้องการให้เงินตึงตัวมากเกินไป อาจเลือกจ่ายเบี้ยประกันใกล้เคียง 5% ของรายได้ หรือ **ประมาณ 3,750 บาทต่อเดือน ,45,000 ต่อปี
3. เลือกประกันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
ประกันแต่ละแบบมีเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยและความคุ้มครองต่างกัน
– ออมเงินระยะสั้น: เช่น ซื้อบ้านหรือท่องเที่ยวในอนาคต ควรเลือกประกันออมทรัพย์ที่มีระยะเวลาชำระเบี้ยสั้น เช่น 5-10 ปี
– ออมเงินระยะยาว: หากเป้าหมายเป็นการเก็บเงินเพื่อเกษียณ ควรเลือกประกันที่มีระยะเวลาคุ้มครองยาว เช่น 15-25 ปี เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มั่นคง
### ตัวอย่าง: เป้าหมายทางการเงิน: เก็บเงินดาวน์บ้าน 500,000 บาท ในอีก 10 ปี
เลือกแผนประกันออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2% ต่อปี คุณอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันปีละ 45,000 บาท เป็นเวลา 10 ปี
หากเบี้ยประกันปีละ 45,000 บาท จ่ายทั้งหมด 450,000 บาทใน 10 ปี เมื่อครบกำหนด เราจะได้รับเงินก้อนประมาณ 500,000 – 520,000 บาท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขประกัน ซึ่งเพียงพอกับเป้าหมายดาวน์บ้าน สร้างวินัยการออม มีความคุ้มครองชีวิต ถ้าเราโชคร้ายขึ้นมาระหว่างทาง เงินประกันจะส่งต่อไปยังครอบครัว หรือผู้รับผลประโยชน์
4. คำนวณเบี้ยประกันเพื่อลดหย่อนภาษี
สามารถนำเบี้ยประกันประกันออมทรัพย์ไปลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาทต่อปี
###ตัวอย่าง:
– หากคุณมีรายได้ปีละ 600,000 บาท และต้องเสียภาษีในอัตรา 10%
– การจ่ายเบี้ยประกัน 60,000 บาท จะช่วยลดหย่อนภาษีได้ 6,000 บาท
– คุณหมูเด้ง อาชีพตากล้อง รายได้ต่อเดือน 50,000 บาท หรือรายได้ต่อปี: 600,000 บาท
– ก่อนทำประกัน หมูเด้งควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน อย่างน้อย 6 เท่าของเงินเดือน หรือ 6 เท่าของรายจ่ายประจำรายเดือน =50,000 X 6 =300,000 บาท
– สัดส่วนเบี้ยประกัน 10% จากรายได้ต่อปี = 60,000 บาทต่อปี หรือ 5,000 บาทต่อเดือน
– นอกจากประกันออมทรัพย์ ถ้าคุณหมูเด้งยังไม่มีสวัสดิการการรักษาพยาบาล อาจจะพิจารณาในการทำประกันสุขภาพก่อน เพื่อมั่นใจว่า ถ้าเจ็บป่วยแล้ว จะไม่สะดุดกับรายจ่ายของค่ารักษาพยาบาล
การวางแผนเบี้ยประกันไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถจัดสรรสัดส่วนที่เหมาะสมตามรายได้ และคำนึงถึงเป้าหมายทางการเงิน การทำประกันออมทรัพย์ก็จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในอนาคตได้โดยไม่กระทบต่อชีวิตประจำวันของเราเลยครับ
### ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าจะเลือกประกันแบบไหนดี หรือควรจ่ายเบี้ยเท่าไหร่ ส่งข้อความมาปรึกษากันได้นะครับ ^^
Leave a Reply