เงินเฟ้อค่ารักษาพยาบาลไม่ใช่เล่นๆ

ความจริงนี้เราหลายคนรู้แล้วก็กระอักกันพอสมควรนะครับ

.

ถ้าเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอื่นๆ ค่ารักษาพยาบาลนี่พุ่งนำหน้าหลายๆตัวเลยครับ จากสถิติแล้วค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7-9% ต่อปี

.

และพอเราลองจิ้มคำนวณดอกเบี้ยทบต้น กันเล่นๆ นะครับ เงินที่มันเฟ้อ ทบไป ทบ มาเนี่ย

.

👉ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นกว่า 7.6 เท่าใน 30 ปี และ

👉เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ ประมาณ 10 ปี

.

ดูแล้วก็นะ มันจะกลายเป็นภาระทางการเงินให้กับพวกเราอย่างมากๆๆๆๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นและมีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษามากขึ้น

.

ลองมาดูเคสนี้กัน ถ้าบังเอิญญญญ โชคร้าย เป็นโรคมะเร็งขึ้นมา ค่ารักษามะเร็งในปัจจุบันนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งและวิธีการรักษา แต่โดยทั่วไป อาจสูงถึง 1-2 ล้านบาทต่อปี สำหรับการรักษาแบบ Targeted Therapy, คีโม, การผ่าตัด และการรักษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

.

[[ค่าใช้จ่ายรักษามะเร็งในปี 2567: 1,500,000 บาท (เฉลี่ย)

.

❗ในอีก 10 ปี (ปี 2577): ค่าใช้จ่ายจะเป็น 1,500,000 * (1 + 0.07)^10 ≈ 2,950,000 บาท

❗ในอีก 30 ปี (ปี 2597): ค่าใช้จ่ายจะเป็น 1,500,000 * (1 + 0.07)^30 ≈ 11,400,000 บาท

.

อ่านแล้วก็ยิ่งปวดหัว ปวดตับ แล้วเราจะรับมือกับมันยังไงได้บ้าง

.

✏️ทำประกันสุขภาพแบบครอบคลุม: ประกันสุขภาพที่ดีจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย โดยเลือกแผนที่มีวงเงินคุ้มครองสูงและครอบคลุมการรักษาโรคร้ายแรง

✏️วางแผนการเงินระยะยาว: ตั้งกองทุนเฉพาะสำหรับค่ารักษาพยาบาลในอนาคต การออมและลงทุนในสินทรัพย์ที่เติบโต เช่น กองทุนรวม ตราสารหนี้ หรือหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ

✏️พิจารณาทำประกันโรคร้ายแรงเพิ่มเติม (Critical Illness): การทำประกันโรคร้ายแรงช่วยรองรับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ต้องรับการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น การผ่าตัด, การทำเคมีบำบัด หรือการรักษาแบบ Targeted Therapy

✏️เลือกการลงทุนที่มีการเติบโตสูง: คำนึงถึงการลงทุนที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากกว่า 7% ต่อปี ซึ่งจะช่วยให้เงินออมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเงินเฟ้อ

✏️ตรวจสอบและทบทวนแผนการเงินเป็นประจำ: ปรับเปลี่ยนแผนการเงินให้ทันต่อภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์เงินเฟ้อทางการแพทย์ โดยการตรวจสอบความครอบคลุมและวงเงินคุ้มครองให้สอดคล้องกับความต้องการ

.

ไหนๆ เราก็รู้ข้อมูลวันนี้แล้ว หาความแน่นอน มาสู้กับความไม่แน่นอนกันดีกว่าครับ ใครที่มีแผนรับมือเจ้าเงินเฟ้อการรักษาพยาบาลยังไง มาแชร์เทคนิคส่วนตัวกันได้นะครับ 😀

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *