เงินสำรองฉุกเฉิน :คือเงินที่เราควรเก็บไว้ใช้ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น การเจ็บป่วยกะทันหัน ซ่อมบ้าน หรือตกงาน การจัดเก็บเงินสำรองให้ ด้วยความที่มันเผื่อฉุกเฉิน แน่นอน ควรจะเป็นเงินสด หรือ สิ่งเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ไว เพราะเราไม่รู้ล่วงหน้าว่าเหตุการณ์ฉุกเฉินจะเกิดขึ้นเตอนไหน เช่น เราหรือคนในครอบครัว ต้องรับการรักษาด่วน การมีเงินสดพร้อมช่วยให้เราจัดการสถานการณ์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการกู้ยืม หรือการใช้สินเชื่อที่มีดอกเบี้ยสูง
แล้วควรเก็บไว้เท่าไหร่ล่ะ : หลักอัตราส่วนสภาพคล่อง เราควรมีเงินสำรองฉุกเฉินที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย 3-6 เดือน ของรายจ่ายประจำเดือน ถ้าเยอะกว่านั้นก็ดีนะ แต่เงินเราจะเริ่มขี้เกียจ ไม่ได้ทำผลตอบแทนอย่างเต็มที่
นอกจากการฝากออมทรัพย์ทั่วไปแล้ว ที่ให้ดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ที่ 0.3% (ปี 2567) มาดูกันว่า เราสามารถไปพักเงินไว้ที่ไหนได้อีก
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดิจิทัล (E-Saving Account)
– ระยะเวลาการแปลงเป็นเงินสด: ได้เงินทันที (ถอนได้ทันทีผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร)
– ข้อดี: สภาพคล่องสูงมาก เหมาะสำหรับการใช้จ่ายฉุกเฉินในทันที
– ดอกเบี้ยเฉลี่ย 1.5-2% แล้วแต่ช่วงจำนวนเงิน และธนาคาร ดอกเบี้ยสูงมักมีการจำกัดยอดเงินฝาก ว่า ห้ามเกินกี่บาท ศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนก่อนน้า
กองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund)
– ระยะเวลาการแปลงเป็นเงินสด: T+1 (ขายคืนและรับเงินในวันทำการถัดไป)
– ข้อดี: มีสภาพคล่องสูง สามารถถอนเงินได้ภายในวันทำการถัดไป เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับเงินสำรองที่ต้องการการเติบโตเล็กน้อย แต่ยังเข้าถึงได้ง่าย ไม่จำกัดวงเงินการลงทุน และความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ
– อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย ประมาณ 1.0% – 1.8% ต่อปี
กองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น (Short-Term Bond Fund)
– ระยะเวลาการแปลงเป็นเงินสด: T+1 หรือ T+2 (รับเงินคืนภายใน 1-2 วันทำการ ขึ้นอยู่กับกองทุน)
– ข้อดี: มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนตลาดเงิน แต่ความผันผวนอาจสูงกว่าเล็กน้อย ยังคงมีสภาพคล่องค่อนข้างดี เหมาะสำหรับเงินสำรองที่ไม่ต้องการใช้ทันทีในวันนั้น
– อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย ประมาณ 1.5% – 2.5% ต่อปี
บัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษี (Tax-Free Fixed Deposit)
– ระยะเวลาการแปลงเป็นเงินสด: ขึ้นอยู่กับธนาคาร อาจต้องแจ้งถอนล่วงหน้า หากถอนก่อนกำหนดอาจสูญเสียสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและดอกเบี้ยบางส่วน
– ข้อดี: ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ แต่เหมาะสำหรับเงินสำรองที่ไม่ได้ต้องการใช้ฉุกเฉินบ่อย
– บัญชีปลอดภาษีให้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ปกติ แต่ต้องถือครบระยะเวลา เช่น 24 เดือน หรือ 36 เดือน เพื่อไม่เสียสิทธิประโยชน์ ส่วนตัวคิดว่าไม่เหมาะเท่าไหร่ สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
Leave a Reply