สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข. อย่าลืมเช็คสิ่งนี้!

เงินในกองทุนที่นายจ้างช่วยสมทบให้นั้น ช่วยให้เรามีวินัยทางการเงินแบบไม่รู้ตัว หักไปก่อนที่เราจะได้ใช้ ! และนี่ ก็จะช่วยสร้าวเงินก้อนโตในอนาคต

.

ก่อนจะปล่อยให้เงินทำงานเองแบบไม่ใส่ใจ ลองเช็คสิ่งเหล่านี้ดูครับ

✅1) นโยบายการลงทุน

เงินของเราไม่ได้อยู่นิ่งๆ แต่ถูกนำไปลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายรูปแบบ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมตามนโยบายที่เราเลือกไว้ ถ้าชอบความเสี่ยงน้อย ก็คงเหมาะกับตราสารหนี้ แต่ถ้ารับความเสี่ยงได้ ก็เพิ่มหุ้นเข้ามาในพอร์ต

👉👉ขอเล่าประสบการณ์ส่วนตัวที่พลาดมาแล้ว

แอดก็เป็นสมาชิก Provident Fund มาได้สักพัก ตอนแรกลงแบบไม่ได้สนใจเลย ว่ามันเอาไปลงทุนกับอะไร แต่มารู้สึกตัวอีกทีตอนปีที่ 3 หลังจากเริ่มศึกษาเรื่องการเงินเยอะขึ้น

พบว่ากองทุนที่บริษัท 90% อยู่ในตราสารหนี้ และ 10% ก็อยุ่ในหุ้นไทย ที่ผลตอบแทนก็ต่ำเตี้ยเหลือเกิน ทั้งกองเฉลี่ย 1.5-4% ต่อปี พลาดโอกาสทำกำไรไปเยอะมาก!

เป็นจุดที่ทำให้ต้องกลับมาดูละเอียด และผลักดันให้กับ บลจ. เพื่อเพิ่มแผนการลงทุนใหม่ๆ (หลายคนอาจจะ งง ว่าทำแบบนี้ได้หรอ? พอดีแอดเป็นคณะกรรมการกองทุนฝั่งนายจ้างครับ เลยมีโอกาสผลักดันเรื่องนี้)

สุดท้ายก็ได้เพิ่มแผนลงทุนใน หุ้นทั่วโลก และอื่นๆ มีตัวเลือกมากขึ้น ที่เหมาะกับระดับการรับความเสี่ยงแต่ละคน ตอนนี้แฮปปี้เลยครับ! ผลตอบแทนขึ้นมาที่ 6-8% ต่อปี แล้วแต่ช่วง

แต่ต้องบอกว่า *นโยบายแบบนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทนะ* บางที่อาจ fix แผนไว้เลย เปลี่ยนอะไรไม่ได้ เพราะงั้นต้องเช็คดีๆ ครับ

✅2) สับเปลี่ยนแผนตามความเสี่ยงและผลตอบแทนแต่ละช่วง

อย่าปล่อยให้พอร์ตของเรานอนหลับและทำงานอย่างเงียบๆ เราต้องให้มันทำงานให้เต็มที่ ช่วงเริ่มต้นทำงาน รับความเสี่ยงได้เยอะ อาจเลือกหุ้นเป็นหลัก แต่พออายุเริ่มเยอะขึ้น ให้ปรับลดหุ้นแล้วเพิ่มตราสารหนี้เพื่อลดความเสี่ยง (เกิดตอนเกษียณ จะถอนออก แล้วหุ้นติดลบ ซวยเลย)

ตอนที่ตลาดผันผวนหรือเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าหน่วยงานไหนมีนโยบายให้สับเปลี่ยนการลงทุนได้ การโยกเงินบางส่วนไปยังตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ ช่วยลดอัตราการขาดทุนได้ แล้วเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จึงค่อยโยกเงินกลับมาที่สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น หุ้นโลก หุ้น USA หุ้นไทย เพื่อเก็บเกี่ยวโอกาสการเติบโต

✅3) เช็ค Vesting Scheme (สิทธิการได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง)

เงินสมทบจากนายจ้างมีเงื่อนไขอยู่นะครับ เช่น ต้องอยู่ในกองทุนครบ 3 ปีถึงจะได้ 50% หรือครบ 5 ปีถึงจะได้ 100% ถ้าออกก่อนกำหนดอาจได้แค่เงินส่วนที่เราสมทบเอง

👉ตัวอย่าง : ถ้าเงินเดือน 100,000 บาท แล้วนายจ้างสมทบ 10% = เดือนละ 10,000

เท่ากับว่า นายจ้างสมทบปีละ 120,000 บาท ถ้าคุณลาออกก่อน 3 ปี (35 เดือนละกัน) เราจะเสียสิทธิ์จากนายจ้างไปเลย 10,000 X 35 = 350,000 จุกๆ

เช็คให้ดี ก่อนออกจากงานนะครับ ^^

✅4) สมทบส่วนตัวเต็ม Max ไปเลย (ถ้าเป็นไปได้)

การสมทบส่วนตัวให้เต็มเพดาน เช่น 15% ของเงินเดือน เงินที่เราไม่เห็น เรามักจะไม่ใช้ ! ไม่ใช่แค่ช่วยเก็บเงิน ยังช่วยลดหย่อนภาษีได้ด้วย

👉ตัวอย่าง “สมทบ 10% จากเงินเดือน 50,000 บาท เท่ากับคุณเก็บออมไปเดือนละ 5,000 บาท และยังได้สิทลดหย่อนภาษีปีละ 5,000 x 12 = 60,000 บาท/ปี

ถึงแม้จะเป็นการลงทุนระยะยาว แต่ก็มีโอกาสให้เราเพิ่มผลกำไร และลดระดับความเสี่ยงในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ใช่ว่า ลงแล้ว ลงเลย ไม่ปล่อยให้เงินของเรา ทำงานไปแบบงงๆครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *