หลายคนที่มีรายได้จำกัดอาจรู้สึกว่าการทำประกันเป็นภาระเพิ่มเติม ทำแล้วก็อาจจะไม่ได้ใช้ ลองมาดูแนวทางการเลือกประกันที่เหมาะสมสำหรับคนที่งบไม่เยอะกันครับ.
[[1. เริ่มต้นจากรากฐาน: ประกันสุขภาพหรืออุบัติเหตุ
จากหลักการ พีระมิดการเงิน การจัดการความเสี่ยงควรมาก่อนการออมและการลงทุน เมื่อเเราเกิด อุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยหนัก ค่าใช้จ่ายที่ตามมาอาจสูงมากจนกระทบการเงินในอนาคต
ประกันสุขภาพ: ครอบคลุมค่ารักษา เช่น ค่าห้อง, ค่าผ่าตัด, หรือการรักษาโรคร้าย
ประกันอุบัติเหตุ (PA): ช่วยค่ารักษาตอนเกิดอุบัติเหตุ และชดเชยรายได้เมื่อไม่สามารถทำงานได้
ยกตัวอย่าง
ประกันอุบัติเหตุ: เบี้ยเริ่มต้น 200-500 บาทต่อเดือน
ประกันสุขภาพ: เบี้ยเริ่มต้น 1,500-2,000 บาทต่อเดือน
ในขณะที่
การผ่าตัดทั่วไปเริ่มต้นที่ 50,000-100,000 บาท
ค่ารักษาใน ICU ต่อคืน 20,000-30,000 บาท
เทียบกับเบี้ยประกันสุขภาพปีละ 20,000 บาท หรือประมาณ 1,700 บาทต่อเดือน สามารถช่วยคุ้มครองค่ารักษาหลักล้านได้ ลดภาระทางการเงิน ไม่ต้องดึงเงินเก็บฉุกเฉินหรือเงินออมออกมาใช้
[[2.ดูสถานการณ์ส่วนบุคคลและครอบครัว:
ทุกคนมีสถานการณ์ไม่เหมือนกัน การเลือกประกันที่เหมาะสมจึงต้องดูเป้าหมายและภาระหน้าที่ เช่น:
หัวหน้าครอบครัว: อาจเริ่มจากประกันชีวิตแบบ Term Life (คุ้มครองแค่ช่วงระยะเวลา 10 / 15 ปี ในช่วงที่มีภาระ หรือความเสี่ยงเยอะ เช่น ช่วงลูกยังเล็ก/ กำลังผ่อนบ้าน)
แบบ Term Life เบี้ยถูก แต่ทุนประกันสูง กว่าแบบคุ้มครองตลอดชีวิต
เบี้ยเริ่มต้น 2,000-3,000 บาทต่อปี ได้ทุนประกัน 1 ล้านบาท
ถ้าเป็นพนักงานที่มีสวัสดิการแล้ว: ประกันอุบัติเหตุหรือประกันสุขภาพที่เติมเต็มความคุ้มครองที่ขาดเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม เช่น ซื้อเสริมโรคร้ายแรงแล้วได้เงินก้อน / หรือซ้อแผนที่ครอบคลุมการรักษาซับซ้อนขึ้น เช่น การรักษามะเร็ง , Target Therapy , ฟอกไต ที่ประกันกลุ่ม มักไม่มี
ข้อแนะนำ:
เลือกเบี้ยที่คุณจ่ายไหว เช่น 5-10% ของรายได้ต่อเดือน
ค่อยๆ เพิ่มประกันตามความพร้อม เช่น เริ่มจากสุขภาพหรืออุบัติเหตุก่อน แล้วเสริมประกันชีวิตหรือบำนาญในอนาคต
[[3. ไม่ใช่ทุกคนต้องมีประกัน หรือมีทุกแบบ
การเลือกแบบประกันที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับเป้าหมายการเงินและสถานการณ์ของแต่ละคน
รายได้ไม่มาก อาจเริ่มจากประกันอุบัติเหตุหรือสุขภาพก่อน
ไม่มีภาระครอบครัว อาจเลือกประกันสุขภาพที่เน้นการคุ้มครองค่ารักษา และตามด้วยประกันออมทรัพย์ หรือบำนาญ เน้นการันตีกระแสเงินสดในอนาคตสำหรับตัวเอง
### ลองสำรวจตัวเองรึยังครับ ว่ามีความเสี่ยงอะไรที่อยากเริ่มป้องกัน?
Leave a Reply