ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ มีอะไรบ้าง ควรเป็นเท่าไหร่

#แต่ละคนมีรายจ่ายประจำกันเดือนละเท่าไหร่ครับ ?

.

.

ถ้าคุณสามารถตอบคำถามง่ายๆ นี้ได้ทันที แสดงความคุณนั้นมีความชัดเจน เรื่องรายรับ รายจ่าย เอาเรื่องเลย และนั่นก็จะทำให้ Step ในการวางแผนเกษียณนั้นง่ายขึ้น และเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น

.

.

.

ถ้าใครยังไม่เคยมานั่งลิส หรือทำบัญชีรายรับรายจ่ายมาก่อนล่ะก็ แอดขอจัดหมวดหมู่เป็นกลุ่มย่อยๆ ดังนี้

.

✏️กลุ่มที่ 1 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำงาน เช่น ภาษีเงินได้, การสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม, และการสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักออกจากรายได้ที่ได้รับจากการทำงานในบริษัท หรือแม้กระทั่งเงินลงทุน ในการทำธุรกิจ ซึ่งก้อนนี้จะหมดไป หรือน้อยลงมากๆ หลังจากเราเกษียณ

.

✏️กลุ่มที่ 2 ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่ากินอยู่ น้ำมัน อินเตอร์เน็ท ค่าเดินทาง ท่องเที่ยว

.

✏️กลุ่มที่ 3 ค่าใช้จ่ายกิจกรรมสังคม เช่น งานเลี้ยงในที่ทำงาน, งานเลี้ยงรุ่น, การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ, และการทำบุญ เมื่อเกษียณแล้วค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลดลง

.

.

โดยทั่วไป ค่าใช้จ่ายหลังช่วงเกษียณทั้งสามก้อน มักจะน้อยกว่าช่วงที่เราหารายได้กันแบบ สมบุกสมบัน (แต่ก็ไม่เสมอไป บางคนอาจจะปล่อยจอย ใช้เงินมากขึ้น)

.

เราอาจจะคิดโดยใช้หลัก Replacement Ratio คือหลักการที่ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณน่าจะเป็นประมาณ XX% ,โดยเป็นตัวเลขสมมติ เช่น 60% ของค่าใช้จ่ายช่วงระหว่างทำงาน เช่น หากค่าใช้จ่ายก่อนเกษียณเป็น 50,000 บาทต่อเดือน การใช้หลัก Replacement Ratio 60% คาดว่าค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะเป็น 30,000 บาทต่อเดือน โดยแต่ละคน ก็อาจจะมีอัตราส่วนที่แตกต่างกัน

อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจครับ แน่นอน โดยทั่วไปค่าใช้จ่ายหลังเกษียณมันมักจะน้อยแต่ แต่ทว่า มันก็ยังมีค่าใช้จ่ายบางประเภท ที่มันจะงอกขีึ้นมา และเราควรจะสิ่งเหล่านี้ เป็นหนึ่งในปัจจัยในการคำนวณ และวางแผนเงินเกษียณ ตัวอย่างเช่น

.

>>>1. ค่ารักษาพยาบาล ** อันนี้ถือเป็นตัวแม่เลย เพราะสุขภาพเรา ยิ่งอายุเยอะขึ้น ยิ่งเสื่อมถอยมากขึ้น และสำหรับทางท่าน หลังเกษียณแล้ว สวัสดิการจากที่ทำงานหรือสิทธิรักษาพยาบาลจากกองทุนประกันสังคมก็จะหมดไป นอกจากมีการซื้อประกันสุขภาพเอาไว้ (ซึ่งก็ต้องนับเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายด้วยนะ ในการจ่ายเบี้ยประกัน)

.

>>>2. ค่าใช้จ่ายในบ้าน สาธารณูปโภค

.

>>>3. ค่าอาหาร

.

>>>4. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบ้าน เมื่ออายุมากขึ้น อุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน ก็มักจะต้องค่อยซัพพอร์ทเรื่องความปลอดภัย ในการใช้ชีวิต เช่น ราวจับกันลื่น พื้นลาดเอียงสำหรับ Whell chair หรือแม้กระทั่ง บ้านที่เราซื้อมาตั้งแต่ช่วงวัยกลางคน หรือวัยรุ่น ก็เริ่มมีการทรุดโทรม และต้องปรับปรุงตามกาลเวลา อย่าลืมคิดค่าส่วนกลางหมู่บ้าน หรือคอนโดด้วยนะครับ

.

>>>5. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทาง

.

>>>6. ค่าเลี้ยงดูผู้อยู่ในอุปการะ เช่น ลูก หลาน คู่สมรส

.

>>>7. ค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว

.

>>>8. ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ งานอดิเรกหรือการดูแลตัวเอง การเข้าสังคม หรือ Club ต่างๆตามความสนใจของเรา

.

>>>9. ค่าใช้จ่ายเพื่อทำบุญและกิจกรรมเพื่อสังคม

.

>>>10. ค่าจ้างคนดูแล ในวันที่เราเริ่มช่วยเหลือตัวเองลำบาก ไม่จะเป็นแม่บ้าน หรือพยาบาล

.

.

จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายพวกนี้ ไม่ได้มีสูตรตายตัว ที่เราจะก็อบกันมาได้ เพราะล้วนแต่ขึ้นอยู่กับ Lifestyle และเงื่อนไขชีวิตของแต่ละคน ทางที่ดีที่สุดคือ พยายามลิสออกมาให้หมด เพือการประมาณการ และวางแผนอย่างรัดกุมครับ

.

อีกข้อนึงที่สำคัญและต้องเอามาคิดด้วย คือเงินเฟ้อ!!! ถ้าเราจำกันได้ สมัยก่อน ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งชาม ราคาถูกกว่าปัจจุบันหลายเท่าตัว แล้วในโอกาสหน้าจะมาแตกประเด็นเรื่องเงินเฟ้อกันอีกทีนะครับ

.

.

🌟เอาล่ะ ตอบตัวเองกันได้รึยังครับ ว่เกษียณแล้ว ค่าใช้จ่ายเราจะเป็นเท่าไหร่ต่อเดือนเอ่ย?????

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *