ลูกค้าหลายๆ คนที่มาปรึกษาแอด ถึงพวกหน่วยลงทุน หรือประกันชีวิต โดยมีจุดประสงค์เพื่ออยากจะลดหย่อนภาษี วันนี้จะมาแชร์ข้อผิดพลาดต่างๆ หรือจุดเล็กๆ บางเรื่อง ที่เราอาจคิดไม่ถึง เพื่อให้การวางแผนภาษีของเรามีประสิทธิภาพและไม่ตกหลุมพรางเหล่านี้
.
1. โฟกัสลงทุนเพื่อภาษีจนเกินไป ไม่ใช่เพื่อผลตอบแทน
หลายคนอาจเลือกลงทุนในกองทุนรวม SSF / RMF หรือซื้อประกันชีวิต แบบจิ้มๆ เอาหว่านไป เอาแค่กองนี้ได้รับสิทลดหย่อน ซื้อตามเพื่อน ตามเพจรีวิวต่างๆ แต่ไม่ได้ศึกษานโยบายการลงทุน หรือ ผลตอบแทนในระยะยาว ผลที่ตามมาคือ การลงทุนที่ไม่ได้ผลตอบแทนตามคาด และเงินที่เราใส่ลงไปก็อาจไม่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ลงไปลงมา ขาดทุนเกินกว่าภาษีที่ได้คืนซะอีก อันนี้ประสบการณ์ส่วนตัวของแอดเอง เจ็บมาแล้วเหมือนกัน
**คำแนะนำ**: ก่อนตัดสินใจลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ควรพิจารณาว่าการลงทุนนั้นเหมาะสมกับเป้าหมายการเงินและความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้หรือไม่ อย่ามุ่งเน้นแค่การลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียว
.
2. มองข้ามค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม
บางครั้งการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี เช่น การซื้อประกันชีวิตหรือกองทุนรวม อาจมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่สูง หากเราไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดให้ดี อาจทำให้ประโยชน์ที่ได้จากการลดหย่อนภาษีถูกหักล้างไปด้วยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทุนที่มีนโนบายการลงทุนแบบ Active โดยคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าตลาด ซึ่งแน่นอน ค่าธรรมเนียมมักจะสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กองทุนหุ้น มักจะมีค่าธรรมเนียมบริหารจัดการที่เก็บจริง ประมาณ 1-3% ต่อปี นั่นหมายความว่า ถึงแม้กองทุนนั้น จะมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมา 5% แต่เมื่อถูกหักด้วย Management Fee (สมติที่ 1.5%) สรุป เหลือผลตอบแทนจริงๆ ต่ำกว่าที่เราคาดหวัง (5%-1.5% = 3.5%)
**คำแนะนำ**: ตรวจสอบค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์การเงินที่คุณเลือกใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี คำนวณว่าหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว คุณยังได้รับประโยชน์ทางภาษีอยู่หรือไม่/
.
3. ลดหย่อนภาษีเกินความจำเป็น
การลดหย่อนภาษีมากเกินไปอาจทำให้เราสูญเสียโอกาสในการลงทุนในช่องทางอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า หรือเก็บออมในรูปแบบที่ยืดหยุ่นกว่าการผูกมัดกับผลิตภัณฑ์ที่ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี
**คำแนะนำ**: ประเมินความจำเป็นในการลดหย่อนภาษีให้เหมาะสมกับรายได้และภาระภาษีของคุณ ไม่ควรลดหย่อนเกินความจำเป็นเพียงเพื่อให้จ่ายภาษีน้อยลง แต่ควรคำนึงถึงการลงทุนที่สอดคล้องกับแผนการเงินของคุณด้วย
.
4. ลืมคำนึงถึงระยะเวลาการถือครอง
หน่วยลงทุนที่ใช้ลดหย่อนภาษีได้ มักเป็นการลงทุนระยะยาว 10 ปีขึ้นไป เช่น กองทุนรวม RMF หรือประกันบำนาญ มีข้อกำหนดเรื่องระยะเวลาการถือครอง หากเราจำเป็นต้องใช้เงินก่อนเวลาที่กำหนด อาจทำให้เราสูญเสียสิทธิ์ลดหย่อนภาษีและต้องเสียภาษีย้อนหลัง หรือในบางครั้ง ที่ผู้ลงทุนอาจจะต้องขายหน่วยลงทุน เพื่อเอาเงินมาใช้ก่อนครบอายุ ตอนที่ขายคืนหน่วยลงทุน มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่สรรพากรจะเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง เพราะถือว่า ส่วนลดหย่อยภาษีที่เราใช้ได้ถูกยกเลิกไป ก่อนครบอายุของมัน โดยเฉพาะอย่างยื่งช่วงหลังนี้ สรรพากรได้มีการเชื่อมระบบ กับประกันชีวิต และบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งทำให้ Track ได้ไม่ยาก จากการใช้ Big Data ตรวจสอบ
**คำแนะนำ**: ตรวจสอบเงื่อนไขการถือครองของผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือก วางแผนให้ดีว่าคุณจะสามารถถือครองได้ตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่ และถ้าเป็นไปได้ ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน ก่อนที่จะซื้อส่วนลดหย่อนภาษี เพื่อให้ชัวร์ว่า ถ้ามีอะไรไม่คาดฝัน เราไม่ต้องขายหน่วยลงทุน เอามาใช้ในยามฉุกเฉิน เสียทั้งผลตอบแทน และยังต้องจ่ายภาษีย้อนหลัง
.
สรุป: การใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังกับดักที่อาจทำให้gikเสียประโยชน์หรือเสียเงินมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว การวางแผนภาษีควรทำด้วยความระมัดระวังและการวิเคราะห์อย่างละเอียด หรือถ้ามีข้อสงสัยอะไร ปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน หรือส่งข้อความมาถามเราได้นะครับ ^^
Leave a Reply