เรามาทำความเข้าใจกันอีกมุมนึงของประกันชีวิตกันบ้างครับ เพราะหลายๆ สินค้าอาจจะเหมาะหรือไม่เหมาะกับเรา ขึ้นอยู่กับว่าเรารับข้อเสียของมันได้ขนาดไหน แอดอยากจะมาแชร์มุมมองกันให้เห็นทุกด้านครับ
.
1. ภาระการจ่ายเบี้ยระยะยาว
.
ส่วนใหญ่ประกันชีวิตมักจะต้องมีภาระผูกพันระยะยาว เช่น ส่งเบี้ย 15-20 ปี อันนี้เห็นด้วยเลยครับ แต่ในข้อเสียก็มีข้อดี นั่นก็คือการส่งเบี้ยยาวๆ ทำให้เงินเราไม่จมไปในครั้งเดียว
.
เปรียบเทียบกับการผ่อนบ้าน: หลายๆ คนที่ซื้อบ้านก็คงคล้ายๆ กันใช่มั้ยครับ ระยะเวลาผูกพันการผ่อนก็หลัก 15-25 ปีขึ้นไป แต่ความแตกต่างคือเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น เสียชีวิตระหว่างการผ่อนบ้าน จะมีหนี้สินคงเหลือให้ครอบครัวต้องรับผิดชอบ แต่ในกรณีของประกันชีวิต หากเกิดการเสียชีวิตระหว่างทาง ครอบครัวจะได้รับผลตอบแทนตามทุนประกันที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงให้ครอบครัว
.
ตัวอย่าง: นาย A ทำประกันชีวิตทุนประกัน 1 ล้านบาท โดยจ่ายเบี้ยปีละ 20,050 บาท เป็นเวลา 20 ปี หากนาย A เสียชีวิตในปีที่ 4 ครอบครัวของเขาจะได้รับเงิน 1 ล้านบาททันที แม้ว่านาย A จะจ่ายเบี้ยประกันไปเพียง 80,200 บาท (4 ปี x 20,050 บาท)
.
2. การถอนเงินก่อนกำหนดและการกู้กรมธรรม์
.
ถอนเงินออกก่อนไม่ได้: การทำประกันส่วนใหญ่ถอนเงินออกก่อนไม่ได้ แถมตอนฉุกเฉินจะกู้กรมธรรม์ยังเจอดอกเบี้ยอีก (ประมาณ 7-8% ต่อปี) ข้อนี้ก็ถูกอีกครับ ในขณะเดียวกัน สิ่งนี้ก็เป็นการเพิ่มวินัยให้กับตัวเองในการออม เพื่อให้ต้องส่งทุกปีให้ครบอายุสัญญา
.
แนวทางป้องกัน:
.
เลือกประกันที่มีความยืดหยุ่น: Universal Life หรือ Unit Linked ที่มักจะมีความยืดหยุ่นสูงกว่า
ศึกษาข้อกำหนดก่อนทำสัญญา
วางแผนการเงินอย่างรอบคอบ: คิดเสียว่าเงินที่ใช้จ่ายในประกันชีวิตนั้นเป็นเงินที่คุณไม่สามารถใช้ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นควรวางแผนการเงินอย่างรอบคอบและมีการสำรองเงินสำหรับกรณีฉุกเฉินในแหล่งอื่นๆ
.
ส่วนตัวแล้ว แอดคิดเสียว่าเงินก้อนที่จ่ายไปในประกันชีวิตนั้นเป็นเงินที่คุณไม่มีไว้ใช้จ่ายประจำวัน การมีวินัยในการออมเงินนี้จะช่วยให้คุณมีเงินก้อนใหญ่ในอนาคตสำหรับการใช้จ่ายหรือการลงทุนตามที่ต้องการ
.
3. ความซับซ้อนของกรมธรรม์
.
กรมธรรม์มักมีข้อกำหนดที่บางทีเราอาจจะมองไม่เห็น ทำให้ผู้เอาประกันอาจไม่เข้าใจหรือพลาดเรื่องสำคัญที่ควรทราบ ข้อนี้จัดการง่ายมากเลยครับ แนะนำให้ใช้ประโยชน์จากตัวแทนประกันชีวิตให้เยอะๆ เรียกว่า ถ้าไม่มั่นใจ ถ้าไม่เคลียร์ อย่าเพิ่งเสียเงินทำเด็ดขาด
ใช้บริการตัวแทนประกันชีวิตมืออาชีพ ที่สามารถอธิบายเงื่อนไขต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและละเอียด ถามคำถามจนกว่าจะเข้าใจทุกประเด็น
.
4. ผลตอบแทนการลงทุนต่ำ
.
ผลตอบแทนการลงทุน: อาจต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เช่น กองทุนรวม
.
ตัวอย่าง: นาย D ลงทุนในประกันชีวิต 1 ล้านบาท 10 ปี ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี 3% ในขณะเดียวกัน กองทุนรวมบางประเภทอาจให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 5%
.
แนวทางป้องกัน: ควรพิจารณาทำประกันชีวิตร่วมกับการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง เพราะจุดมุ่งหมายหลักของประกันคือการประกันความเสี่ยง ไม่ใช่เพื่อผลตอบแทนสูงสุด ใครที่ซื้อประกันเพราะมุ่งเน้นผลตอบแทนเป็นหลัก อันนี้ไม่แนะนำเลยครับ เพราะผิดวัตถุประสงค์ การประกันความเสี่ยงนั้นมุ่งเน้นที่ความสบายใจของผู้ทำ และการส่งต่อความสามารถ ความห่วงใย ไปยังบุคคลที่เรารัก
.
5. การเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ทางสุขภาพ
ข้อนี้มักเกิดขึ้นสำหรับผู้ที่วางแผนทำประกันสุขภาพ ที่บางที อาจจะถูกปฏิเสธการเอาประกัน / ถูกเพิ่มเบี้ย หรือยกเว้นบางโรค หรือ หากสุขภาพของผู้เอาประกันแย่ลงหลังจากเริ่มต้นทำประกัน อาจทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนหรือเพิ่มความคุ้มครองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันที่สูงขึ้น
,
แนวทางป้องกัน: ทำประกันชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อยและสุขภาพดี เพื่อรับประกันความคุ้มครองในระยะยาวและลดความเสี่ยงในการจ่ายเบี้ยประกันสูงขึ้นในอนาคต
.
6. ความน่าเชื่อถือของบริษัทประกัน
.
ความน่าเชื่อถือของบริษัทประกัน: หากบริษัทประกันที่คุณเลือกไม่มีความน่าเชื่อถือหรือมีปัญหาทางการเงิน อาจทำให้คุณไม่ได้รับการคุ้มครองตามที่คาดหวัง
.
แนวทางป้องกัน: เลือกบริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือและมีสถานะทางการเงินมั่นคง ตรวจสอบรีวิวและข้อมูลการเงินของบริษัทประกันก่อนตัดสินใจ
.
และที่กล่าวมา ก็เป็นข้อเสียบางส่วน จากหลายๆ ประเด็น หวังว่าทุกคนจะเห็นภาพของประกันชีวิตชัดเจนขึ้นในหลายๆ มุมครับ ทุกอย่างมีข้อดี ข้อเสีย ลองเลือกให้เหมาะกับบริบทชีวิตของเราเพื่อประโยชน์สูงสุดครับ ถ้าไม่มั่นใจตรงไหน แนะนำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือส่งข้อความมาสอบถามกันได้นะครับ
Leave a Reply