แอดขอไม่พูดถึงหลักการ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นทุกปี คุ้มครองก่อนเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือค่าเบี้ยที่ถูกลงถ้าซื้อตั้งแต่อายุน้อย เพราะหลายๆ คนคงได้ยินเรื่องเหล่านี้มาแล้ว แต่แอดอยากแชร์เคสที่เจอมาจากการดูแลและให้คำปรึกษาลูกค้าจริงๆ ในช่วงเร็วๆ นี้เอง (ชื่อลูกค้าทุกท่านเป็นนามสมมติ และได้รับการยินยอมแล้วครับ )
.
คุณ ตั๊ก อายุ 44 ปี: เพิ่งผ่าตัดเนื้องอก อยากทำประกันเพื่อให้คุ้มครองสุขภาพระยะยาว แต่ต้องรอผลตรวจชิ้นเนื้ออีกปีว่าจะเป็นปกติหรือไม่ ถึงจะสามารถพิจารณาทำประกันได้
คุณ พอล อายุ 36 ปี: เคยมีประวัติโรคเครียดและซึมเศร้า และยังมีการทานยาอยู่ บริษัทประกันปฏิเสธการทำประกันสุขภาพโดยสิ้นเชิง เพราะเห็นว่ามีความเสี่ยง แต่ให้ทำได้เฉพาะประกันชีวิตเท่านั้น
คุณ หมูเด้ง อายุ 32 ปี: เป็นโรคหอบหืด ซึ่งทางบริษัทอนุญาตให้ทำได้แต่ต้องเพิ่มเบี้ยประกัน เพราะความเสี่ยงที่สูงขึ้น แม้จะต้องจ่ายแพงกว่าเดิมแต่ก็ยังเลือกทำ เพราะยังได้รับความคุ้มครองในส่วนอื่นๆ ที่จำเป็น
คุณ หมีเนย อายุ 47 ปี: มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม บริษัทยอมรับให้ทำประกัน แต่ยกเว้นการคุ้มครองโรคข้อเข่าเสื่อม ก็ยังยอมรับเงื่อนไขเพื่อให้ได้รับการคุ้มครองจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ
คุณ ฟิล์ม อายุ 56 ปี: ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งบริษัทไม่รับทำประกันใดๆ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงเกินไป
.
พอเราสุขภาพดี เรามักจะไม่เห็นความจำเป็นของประกันสุขภาพ แต่พอวันหนึ่งที่เราเริ่มเห็นสัญญาณของโรค หรือเจอเหตุการณ์ไม่คาดคิด คำว่า “ประกันสุขภาพ” ที่เราเคยมองข้ามไปก็อาจกลายเป็นเรื่องสำคัญที่สุดขึ้นมา พอรู้ตัวอีกที ตอนที่เราอยากซื้อประกัน บางทีก็สายเกินไปแล้วเพราะซื้อไม่ได้ หรือได้ก็ต้องรับเงื่อนไขที่อาจไม่ครอบคลุมโรคที่เราเริ่มมีปัญหา
.
โดยเฉพาะโรคร้ายแรงบางอย่างที่บริษัทประกันไม่รับทำเลย เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, โรคซึมเศร้า, ถุงลมโป่งพอง, ตับแข็ง, โรคลมชัก และมะเร็ง เราไม่รู้เลยว่า “โรค” จะจั่วมาที่เราเมื่อไหร่
.
สุดท้ายแล้ว ก็ลองชั่งใจดูดีๆ กันครับ กับรายจ่าย VS การจัดการความเสี่ยง แม้เราจะจ่ายเบี้ยไปทุกปี แต่หากวันหนึ่งเราเจ็บป่วยและไม่มีอะไรคุ้มครอง ค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับจะสูงกว่าเบี้ยประกันมากมาย ครับ
Leave a Reply