ทุกปลายปี หลายคนได้รับโบนัสหรือเงินพิเศษก้อนใหญ่ เป็นเหมือนรางวัลที่ทำงานหนักมาทั้งปี มารู้ตัวอีกที ผ่านปีใหม่เพียงไม่กี่เดือน บางคนเป็นหลักวัน เงินก้อนมันหายไปไหนหมดแล้ว โดยแทบไม่มีอะไรให้จับต้องได้ ไม่ว่าจะเป็น ค่าท่องเที่ยว ค่าของขวัญปีใหม่ ค่ากินเลี้ยง ให้รางวัลตัวเอง ให้ครอบครัว หรือบางครั้งก็จ่ายหนี้เก่าที่สะสมไว้ ทั้งที่ตอนแรกตั้งใจว่าจะเก็บหรือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
.
แน่นอน แอดก็เคยเจอสถานการณ์วนมาหลายปีเลย แทบจะเป็นวงจรอุบาทว์ที่วนลูป เงินหมดเพียงไม่กี่อาทิตย์
.
ลองถามตัวเองว่า…
.
– ถ้ากันเงินส่วนหนึ่งไว้ใช้จ่าย และอีกส่วนไว้ลงทุน จะช่วยให้ชีวิตมั่นคงขึ้นมั้ย?
– ถ้าใช้เงินก้อนนี้ จ่ายดอกเบี้ยตัวที่สูงที่สุดก่อนการซื้อของให้ตัวเอง จะลดภาระการเงินระยะยาวได้แค่ไหน?
– ถ้านำเงินส่วนหนึ่งไปวางแผนป้องกันความเสี่ยง ครอบครัวจะปลอดภัยขึ้นมั้ย?
.
[[แนวทาง ในการจัดการเงินปลายปี : ขอเรียงตามลำดับความสำคัญนะครับ แต่ในแต่ละบ้าน แต่ละคน ก็อาจจะสลับไปสลับมาได้นะ
.
กันเงินไว้เป็นเงินออมฉุกเฉิน :ก่อนจะซื้อของ หรือลงทุนอะไร ควรมีอันนี้ก่อน อย่างน้อย 3-6 เเท่า ของค่าใช้จ่ายรายเดือน**
ชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง : ลดภาระการเงินระยะยาว และความน่ากลัวของดอกเบี้ยทบต้น โดยเฉพาะหนี้บริโภคที่ดอกเบี้ยโหดจริงๆ 18% up เช่น บัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคล
วางแผนป้องกันความเสี่ยง : ประกันชีวิตหรือสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองเราและครอบครัว
ลงทุนเพื่ออนาคต : นำเงินไปลงทุนในกองทุนรวม หุ้น หรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับความเสี่ยง รวมถึงการลงทุนในความรู้ เพื่อพัฒนาตัวเองก็ได้นะ ไปลงคอร์ส หรือ Workshop ที่เราสนใจ
ซื้อความสุขส่วนตัว : ผ่านมาจนด่านสุดท้ายแล้ว ถึงเวลาให้รางวัลตัวเองซะที ใช้ 15-25% ของเงินก้อนสำหรับซื้อของที่จำเป็นหรือท่องเที่ยวเล็กๆ เพื่อเติมพลัง
.
[[มาดูตัวอย่างกันครับ
คุณเอกในอดีต: ได้รับโบนัส 200,000 บาท (หลังหักภาษี) ใช้เงินทั้งหมดไปกับของขวัญและเที่ยวปีใหม่ ผ่านไป 2 เดือน เงินหมดเกลี้ยงง + เป็นหนี้บัตรเครดิตเพิ่มอีกตะหาก
คุณเอกเวอร์ชั่นอัพเดท: ได้โบนัสเท่ากัน และมีรายจ่ายต่อเดือนประมาณ 15,000 บาท แต่เลือกจัดการดังนี้:
.
เก็บ 90,000 บาท ไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน (เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย 6 เดือนที่ 15,000 บาทต่อเดือน) เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
ใช้ชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูง: ชำระหนี้บัตรเครดิต 20,000 บาท ลดภาระดอกเบี้ย ส่วนที่เหลือก็โปะหนี้ระยะยาว เช่น โปะบ้าน
วางแผนป้องกันความเสี่ยง: ใช้ 20,000 บาท ทำประกันสุขภาพ เพื่อคุ้มครองตัวเองและครอบครัว
ลงทุนเพื่ออนาคต: ลงทุนในกองทุนรวม 30,000 บาท เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว และอีก 10,000 ไปลงเรียนคอร์สเกี่ยวกับ AI / Big Data เพิ่มความรู้
แบ่งเงินบางส่วนไว้สำหรับความสุขส่วนตัว: ใช้ 30,000 บาท สำหรับซื้อของขวัญให้ตัวเอง ครอบครัวหรือเก็บไว้สำหรับแพลนทริปต่างประเทศ ที่อาจต้องทยอยเก็บเพิ่ม ในอนาคต
1 ปีผ่านไป คุณเอกเวอร์ชั่นใหม่มีเงินสำรอง เงินลงทุนที่เติบโต และความคุ้มครองที่มั่นคง เทียบกับตัวเองในอดีต ที่ยังคงมีหนี้และไม่มีเงินเก็บ
อยากให้ทุกคนลองคิดตามและตั้งเป้าว่า “อยากเห็นเงินก้อน/โบนัสของเราสร้างอะไรในปีหน้า? และปรับให้เข้ากับบริบทชีวิตของตัวเองกันนะครับ

Leave a Reply