กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คือกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันสะสมเงินเข้าไป เพื่อเป็นเงินออมสำหรับการเกษียณอายุของลูกจ้าง โดยนายจ้างและลูกจ้างจะหักเงินจากรายได้ของลูกจ้างในแต่ละเดือนเป็นเงินสะสม และนายจ้างจะสมทบเงินเข้าไปในกองทุนตามสัดส่วนที่ตกลงกัน บริษัทไหนที่มีสวัสดิการตรงนี้ ถือว่าใจดีมากๆ เพราะสัดส่วนของบริษัทที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีไม่ถึง 5% ของจำนวนบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในไทย กองทุนนี้มีการบริหารจัดการโดยมืออาชีพเพื่อให้เงินออมเติบโตตามเวลาและช่วยให้ลูกจ้างมีเงินใช้เมื่อเกษียณ
.
แอดมินเคยทำงานทางด้านทรัพยากรบุคคล เลยอยากมาแชร์มุมมองและ Check list ว่าข้อไหนที่เราควรรู้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด
.
Check 1: ระยะเวลาที่ได้เงินสะสมส่วนของนายจ้าง
แต่ละที่มีนโยบายที่ต่างกัน ถ้าเราอยากได้สิทธิประโยชน์เต็มที่ คือ เงินสมทบจากฝั่งนายจ้างเต็มจำนวน เราควรอยู่ให้ครบตามกำหนด (ในกรณีที่ยังทนไหว)
.
ตัวอย่าง: บริษัท A มีกฎว่าพนักงานจะได้รับเงินในส่วนนายจ้างครบ 100% ถ้ามีอายุงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป (ทั้งนี้กฎแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน)
.
น้องหมีเนย เป็นพนักงานบริษัท A เงินเดือน 50,000 บาท โดยนายจ้างสมทบ 10% และลูกจ้างสมทบ 10%
หมีเนยมีการเก็บเงินเข้าในกองทุนเดือนละ 10,000 บาท (5,000 บาทจากลูกจ้าง และ 5,000 บาทจากนายจ้าง)
.
ถ้าน้องหมีเนยแพลนจะย้ายงาน
ลาออกปีที่ 2: ได้แค่ส่วนตัวเอง คือ 5,000 บาทต่อเดือน (รวมเป็น 120,000 บาทต่อปี) ดังนั้น หากลาออกหลังปีที่ 2 จะได้เงินสะสมรวม 120,000 บาท โดยจะเสียประโยชน์ในส่วนของนายจ้างไป 120,000 บาท
ลาออกหลังปีที่ 3: ได้เงินจำนวน 360,000 บาท (ส่วนของตัวเอง 180,000 บาท + ส่วนนายจ้าง 180,000 บาท) จะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งส่วนของตัวเอง และส่วนนายจ้าง
.
ปล. ทั้งสองตัวอย่าง ยังไม่นับรวมผลตอบแทนจากการลงทุน
.
Check 2: นโยบายการลงทุน
การวางเงินในแผนการลงทุนที่ผิดอาจทำให้เราได้ผลตอบแทนไม่เต็มที่ เช่น ในช่วงแรกของการทำงาน เราสามารถรับความเสี่ยงได้มาก จึงสามารถเกลี่ยการลงทุนไปในหุ้น มากกว่าตราสารหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในหลายที่ ก็เปิดโอกาสให้พนักงานมีตัวเลือกแผนการลงทุนที่แตกต่างกัน ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้
.
ตัวอย่าง:
น้องหมีเนยลงทุนในกองทุนตราสารหนี้: เก็บเงินเดือนละ 5,000 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ต่อปี
เมื่อผ่านไป 20 ปี เงินต้นรวม = 1,200,000 บาท
เงินรวมพร้อมผลตอบแทน ≈ 1,490,000 บาท
แต่ถ้าน้องหมีเนยลงทุนในกองทุนหุ้น: เก็บเงินเดือนละ 5,000 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ต่อปี
เมื่อผ่านไป 20 ปี เงินต้นรวม = 1,200,000 บาท
เงินรวมพร้อมผลตอบแทน ≈ 2,660,000 บาท
.
Check 3: ปรับนโยบายการลงทุนตามสภาวะตลาด
ในหลายบริษัท คุณสามารถปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ตามต้องการ อาจจะมีกำหนดให้เปลี่ยนปีละ 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วแต่นโยบายบริษัท หากเห็นว่าตลาดหุ้นมีโอกาสเติบโตสูง คุณอาจเลือกลงทุนในหุ้นมากขึ้น หรือหากต้องการความมั่นคง คุณสามารถเลือกลงทุนในพันธบัตรหรือเงินฝากได้
.
Check 4: สิทธิประโยชน์ทางภาษี
เงินสะสมในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ทำให้คุณจ่ายภาษีน้อยลงและมีเงินออมมากขึ้นในระยะยาว นอกจากนี้ ผลตอบแทนที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังได้รับการยกเว้นภาษี
.
Check 5: ลาออกอย่าเพิ่งถอนกองทุนออกมา
บางคนคิดว่า เมื่อออกจากงานจะได้เงินก้อนจากกองทุนนี้ แต่ถ้าคุณถอนออกมาก่อนอายุ 55 จะเสียภาษีเต็มจำนวน ถ้าไม่เดือดร้อนจนเกินไป แนะนำให้คงเงินไว้ในกองทุน หรือโอนย้ายไปกองทุน RMF เพื่อได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด ทั้งจากผลตอบแทนทบต้นและสิทธิทางภาษี
เมื่อเปลี่ยนงาน คุณสามารถโอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังนายจ้างใหม่ได้ การทำเช่นนี้จะช่วยให้เงินออมของคุณเติบโตต่อเนื่องโดยไม่ต้องถอนออกมาและเสียภาษี การรักษาต่อเนื่องจะช่วยให้คุณมีเงินออมที่มั่นคงมากขึ้นในระยะยาว
.
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนเข้าใจและใช้ประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นนะครับ
Leave a Reply