การออกจากงานประจำมาพร้อมกับคำถามหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือจะจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD- Provident fund) อย่างไร ซึ่งแอดเคยเขียนบทความโดยละเอียดเกี่ยวกับ PVD – ไปอ่านได้ที่นี่เลย https://rb.gy/u2t6iw
การจัดการกับ PVD นั้นสามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นก็คือการโอนย้ายไปกองทุน RMF แต่นั่น ก็มีสิ่งที่เราจะต้องรู้ รวมถึงข้อบังคับต่างๆ เพื่อไม่ให้เราเสียผลประโยชน์นะ
1) RMF for PVD เหมาะกับใครบ้าง?
ผู้ที่ลาออกจากงานประจำหรือย้ายงาน แต่ไม่ต้องการโอน PVD ไปบริษัทใหม่ หรือบริษัทใหม่ไม่มี PVD ให้
ผู้ที่ไม่ต้องการคงเงิน PVD ไว้กับบริษัทเดิม เนื่องจากการคงสถานะต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีประมาณ 500 บาท
ผู้ที่ต้องการการลงทุนที่หลากหลายกว่า PVD เดิมที่มีนโยบายการลงทุนจำกัด
ผู้ที่นายจ้างยกเลิก PVD แต่สมาชิกยังอายุไม่ถึง 55 ปี ทำให้การถอนเงินออกจะต้องเสียภาษีหากไม่ใช้วิธีโอนเข้า RMF for PVD
2) ทำไมต้องเลือก RMF for PVD?
หากเราออกจากงานประจำแล้วไม่ทำงานประจำต่อ หรือบริษัทใหม่ไม่มี PVD การเลือก RMF for PVD จะช่วยรักษาเงินที่เราทยอยเก็บไว้ก่อนหน้า โดยไม่ต้องเสียภาษีทันที และยังคงโอกาสให้เงินเติบโตในระยะยาว ตามการเติบโตของกองทุนที่เราเลือก
3) ประโยชน์ของ RMF for PVD
ไม่เสียภาษีทันที: การถอนเงิน PVD ออกก่อนกำหนด (ก่อนอายุ 55 หรือเก็บมาน้อยกว่า 5 ปี) เมื่อถอนออก ส่วนสมทบนายจ้างจะถูกคิดเป็นรายได้และแน่นอน โดนภาษีจ้า เมื่อโอนเงิน PVD ไปยัง RMF for PVD จะช่วยให้เราเว้นจากการถอนเงิน PVD ก่อนอายุเกษียณ 55 หรือ 60 ทำให้สามารถเก็บเงินเพื่อการเกษียณได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
เงินยังคงเติบโตต่อ: RMF for PVD เป็นการลงทุนต่อเนื่องที่ทำให้เงินออมของเราไม่หยุดนิ่ง และยังคงได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนตามนโยบายที่เลือก
ความยืดหยุ่น: เราสามารถเลือกนโยบายการลงทุนได้ตาม จริต ความเสี่ยงที่เรารับได้ หรือตามสินทรัพย์ที่สนใจ เช่น การลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ ที่กองทุน RMF นั้นๆนำเสนอ ในขณะที่กอง PVD มักจะถูกจำกัด ด้วยแผนการลงทุนไม่กี่แผน แล้วแต่นโยบายของแต่ละบริษัท
4) ไม่ใช่ทุกกองทุน RMF จะรับโอนจาก PVD ต้องเป็น RMF for PVD เท่านั้น!
หากเราจะโอนเงินจาก PVD ไป RMF อย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกกอง RMF จะรองรับการโอนนี้ ต้องเป็น RMF for PVD เท่านั้น ซึ่งออกแบบมาเพื่อรองรับการโอนจาก PVD โดยเฉพาะ
5) มี บลจ. หรือกองทุนอะไรบ้างที่รองรับ RMF for PVD?
ปัจจุบัน บลจ. ที่มีผลิตภัณฑ์ RMF for PVD เช่น:
บลจ.กสิกรไทย (KAsset)
บลจ.กรุงศรี (Krungsri)
บลจ.ทิสโก้ (TISCO)
บลจ.ทหารไทยธนชาต (TMBAM Eastspring)
บลจ.กรุงไทย (KTAM)
บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ (LH Fund)
บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC)
6) ขั้นตอนในการโอน PVD ไป RMF for PVD
เลือกกองทุน RMF for PVD ที่ตรงกับนโยบายการลงทุนและความเสี่ยงที่
เปิดบัญชีกับ บลจ ที่เราสนใจนโยบายการลงทุน
แจ้งฝ่ายบุคคล หรือบริษัทเก่าเพื่อแสดงความต้องการโอนเงิน PVD ไปยัง RMF for PVD
รอการยืนยัน: หลังจากที่เอกสารถูกอนุมัติ เงินจะถูกโอนไปยัง RMF for PVD ตามขั้นตอนที่กำหนด
7) ระวัง
เมื่อโอนเงิน PVD ไป RMF for PVD แล้ว จะไม่สามารถโอนกลับมา PVD ได้อีก ดังนั้นควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ เพราะจะเป็นการโยกย้ายที่ถาวร แต่เมื่อเราย้ายไป RMF for PVD แล้ว เราสามารถสับเปลี่ยนกอง ใน บลจ เดิมได้ หรือโอนย้ายไป บลจ อื่น ที่เราอาจจะสนใจมากกว่าในอนานต แต่ก็ต้องเตรียมรับกับค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนด้วยนะ
การเลือก RMF for PVD เป็นทางเลือกที่ช่วยให้เงินเติบโตในระยะยาว และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาษี ยิ่งรู้จักวางแผนเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งมั่นใจได้ว่าการเกษียณของเราจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ไปตามเป้าหมายที่วางไว้
Leave a Reply