หลายคนทราบดีว่าการซื้อประกันชีวิต นอกจากจะช่วยสร้างหลักประกันให้กับตัวเองและครอบครัวแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดาได้อีกด้วย
แต่รู้หรือไม่ว่า ประกันชีวิตแต่ละประเภทสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเท่าไหร่ ?
วันนี้เรามีตารางสรุป พร้อมยกตัวอย่างประกอบมาฝากกันครับ
ตัวอย่าง
คุณนลิน พนักงานบริษัทไอที เงินเดือน 90,000 บาท ต่อปี มีรายได้ต่อปี 1,080,000 บาท อยู่ในฐานภาษี 20%
.
ภาษีที่ต้องจ่าย : 99,000 (กรณีไม่มีส่วนลดหย่อนอื่น)
กรณีที่ 2: ซื้อประกันชีวิตแบบทั่วไป เบี้ยประกันปีละ 50,000 บาท
เงินได้สุทธิ: 1,080,000 หักค่าใช้จ่าย และลดหย่อนส่วนตัว (ตามกฏสรรพากร ) 160,000 = 920,000
หักส่วนลดหย่อนประกันชีวิต 50,000 เหลือเงินได้พึงประเมิณ 920,000- 50,000 = 870,000
ด้วยเงินได้พึงประเมิณ 870,000 บาท ภาษีที่ต้องเสียคือ 89,000
เทียบกับกรณีแรก ไม่มีประกัน ส่วนต่างกันคือ 99,000- 89,000 = 10,000 บาท
สรุป
.กรณีที่ 1 (ไม่มีประกัน) : คุณนลินต้องจ่ายภาษี 99,000 บาท
กรณีที่ 2 (ซื้อประกัน 50,000 บาท) : คุณนลินสามารถเรียกคืนภาษี หรือเสียภาษีน้อยลง 10,000 บาท
หมายเหตุ
ตารางนี้เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ
วงเงินที่นำมาลดหย่อนภาษีได้จริง อาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมสรรพากรและแบบประกันที่เลือก
ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อประกัน
ประเภทของประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
ประกันชีวิตแบบทั่วไป : ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต
ประกันชีวิตแบบ Unit Linked : ประกันชีวิตที่ผสมผสานระหว่างความคุ้มครองชีวิตและการลงทุน
ประกันชีวิตแบบบำนาญ : ประกันชีวิตที่ให้ผลตอบแทนเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณอายุ
ประกันสุขภาพ : ประกันที่ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษี แนะนำให้ปรึกษาตัวแทนประกันชีวิตที่เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกแบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและสอดคล้องกับเงื่อนไขของกรมสรรพากร
สำคัญที่สุด การตัดสินใจซื้อประกันชีวิต ไม่ควรพิจารณา แค่เรื่องการลดหย่อนภาษี เพียงอย่างเดียวแต่ ควรพิจารณา ถึงความคุ้มครอง และความเหมาะสม กับความต้องการ ของตัวเอง และครอบครัวก่อนนะครับ
Leave a Reply