ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย กระทบอะไรเราบ้าง

ทุกคนเห็นกราฟตัวนี้ แล้วรู้สึกยังไงกันบ้างครับ
:
ต้องบอกก่อน ว่าผมก็เป็นตัวอย่างนึง ของคนที่จบเศรษฐศาสตร์แล้วในตอนที่เรียนเนี่ย ก็ต้องเรียนเจ้าพวกนี้ ไม่ว่าจะเป็น Demand Supply ของ ฺBond / Exchange Rate / นโยบายการเงิน การคลังต่างๆ

บอกตรงๆ ว่า ไม่เคยเข้าใจเรื่องพวกนี้เลยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทุกสิ่ง ได้ถูกอธิบายด้วยกราฟ และสมการ ก็ทำให้เรายิ่งมึน และ ignore ไปดื้อๆ งานที่ทำในช่วงแรก ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเศรษฐศาสตร์เลยย

🔸🔸ผมขอตีความกราฟนี้ จากมุมมองของคนที่เรียกว่า โง่ ทางด้านเศรษฐศาสตร์เลยนะครับ หลับน้ำลายยืด เกือบทุกคลาส

:

มันก็คือ อัตราผลตอบแทน ของพันธบัตรรัฐบาล ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ก่อนปี 2024)

:

แล้วพันธบัตรมันคืออะไรก่อนน พูดง่ายๆ ก็คือ ตั๋วแลกเงิน ที่รัฐบาลปล่อยออกมา เพื่อขอกู้ ในระยะยาว 10 ปี 15 ปี ก็ว่ากันไป โดยมีดอกเบี้ยจำนวนนึง ซึ่งเมื่อขึ้นชื่อว่ารัฐบาล ในที่นี้คือกระทรวงการคลัง หรือ Ministry of Finance ถ้าเป็นบริษัทก็ถือว่าเป็นบริษัทที่มั่นคงพอสมควร ไม่น่าล้มง่ายๆ แน่นอน (แต่ก็มีโอกาสบ้างนะครับ ตัวอย่างเช่น อาร์เจนติน่า)

:

ที่นีัถ้าเราลองลากเส้นแนวนอน หรือถ้าพวกดูกราฟ หุ้น หรือหลักทรัพย์ เรียกว่า Trend Line ดูแนวโน้มของผลตอบแทนพันธบัตรในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้ เรียกว่า เราค่อนข้างเห็น Trend ที่มันลดลงเรื่องๆ อย่างชัดเจน

:

➡️จากผลตอบแทนประมาณ 6.5% ในช่วง เกือบยี่สิบปีที่แล้ว

➡️เหลือ 4 % ในปี 2014 (10 ปีที่แล้ว)

➡️และในปีปัจจุบัน 2024 อยู่ที่ 2.7%

ยกตัวอย่างอีกทีง่ายๆ นะครับ ถ้าเราฝากเงิน 1 แสนบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยทบต้น ที่ต่างกัน

เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปี ลองคิดแบบไม่ได้เติมเงินเพิ่มนะครับ

🔸ดอกเบี้ย อัตรา 6.5% -20 ปีผ่านไป เงินเราจะโตขึ้นเป็น 298,400

🔸ดอกเบี้ย อัตรา 4% -20 ปีผ่านไป เงินเราจะโตขึ้นเป็น 185,700

🔸ดอกเบี้ย อัตรา 2.7% -20 ปีผ่านไป เงินเราจะโตขึ้นเป็น 163,100

:

มูลค่าต่างกันค่อนข้างมากเลย สิ่งเหล่านี้บอกอะไรเราบ้าง

:

พวกกองทุนรวมที่อิงกับพันธบัตรรัฐบาล ความเสี่ยงต่ำ กองใหม่ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะได้รับผลตอบแทนที่น้อยลง ขณะเดียวกัน คนที่ซื้อไว้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ คือ 10 -20 ปีที่แล้ว ก็จะได้อานิสงค์ เพราะพันธบัตรที่ซื้อมาก่อนหน้านั้น มีมูลค่าผลตอบแทนสูง เพราะเงินที่เราจะได้รับคืนในอนาคตค่อนข้างจะถูกการันตีไว้หมดแล้ว ยิ่งกองทุนนั้น มีสัดส่วน Bond มากเท่าไหร่ ในขณะที่กองใหม่ ก็จะแพงขึ้น หรือผลตอบแทนลดลง

:

ในส่วนของประกันชีวิต เบี้ยประกันแบบใหม่ๆ ก็มีแนวโน้มจะแพงขึ้น หรือผลตอบแทนลดลง เพราะเนื่องจาก สินทรัพย์ที่บริษัทประกันลงทุนส่วนใหญ่ ก็จะเป็นพันธบัตรที่ความเสี่ยงต่ำ เมื่อผลตอบแทนลดลง ก็เหมือนบริษัทประกันต้องแบกต้นทุนที่สูงขึ้น เบี้ยประกันระยะยาวในบางตัว อาจจะต้องปรับราคาขึ้น

:

เมื่อดอกเบี้ยระยะยาวของพันธบัตรรัฐบาลลดลงเรื่อยๆ นั่นหมายความว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตทุกฉบับจะต้องสร้าง และสำรองหนี้สินเพิ่มขึ้นตามมูลค่าปัจจุบัน ถ้าคุณถือกรมธรรม์เก่า บริษัทประกันไม่สามารถทำอะไรได้เนื่องจากมีการันตีแล้ว ใครมีกรมธรรม์ที่ทำไว้ยาวๆ พวกออมทรัพย์ หรือบำนาญ ก็หนีบไว้แน่นๆ เลยครับ

:

แล้วถามว่า ณ จุดนี้ เรายังควรซื้อกองทุนที่มีสัดส่วนของพันธบัตร หรือยังควรซื้อประกันอยู่มั้ย ก็ผลตอบแทนมันลดลงๆ นี่นา ก็ต้องบอกว่า ส่วนนึง ยังควรอยู่ครับ เพราะสินค้าทางการเงินพวกนี้ ก็ยังมีสถานะของการ “การันตี” ผลตอบแทน เรารู้ชัดจน ว่าเราจ่ายเท่าไหร่ และจะได้เงินเท่าไหร่ ในช่วงปีไหน

:

สินค้าและสินทรัพย์ทางการเงินใหม่ๆ ก็คงทยอยออกมาเรื่อยๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่เราต้องคิดให้ถี่ถ้วน ก็คือเรื่องความเสี่ยงครับ เพราะยิ่งมีโอกาสทำกำไรสูง ก็มีโอกาสสวิง และขาดทุนสูงเช่นกัน

:

เอ๊าาา อออกไปทำงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกันเถอะครับ เผื่อต่อไป เราอาจมีโอกาส เห็น Yeild curve ฺBond ประเทศไทย ขึ้นไปถึง 10% ใครจะรู้!!!!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *