ส่วนตัวผมเองอดีตจะไม่เคยสนใจหรือซื้อ RMF มาก่อนเลยครับ
ตอนช่วงทำงานใหม่ๆ ประมาณ 22-30 ปี ยอมรับเลยครับว่าไม่ได้คิดจริงจังกับเรื่องการเกษียณเลย ตอนนั้นคิดแค่เรื่องลดหย่อนภาษีเป็นหลัก ทุกปีเลยซื้อแต่ LTF ตามๆ เค้าไป (ต่อมาก็ SSF) คิดว่าถือแค่ 5 หรือ 10 ปีก็ขายได้ ถือเป็นการออมระยะสั้นแบบที่ไม่ต้องวางแผนยาวๆ
.
RMF นี่คือมองข้ามไปเลยเพราะรู้สึกว่าต้องถือครองนานเกินไปกว่าจะขายคืนได้ก็คือหลังอายุ 55 แต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อได้ลองศึกษาเรื่องการเกษียณจริงจังมากขึ้น และเห้นประโยชน์ของมันในระยะยาว มาดูกันครับว่าฟีเจอร์ไหนที่ทำให้ RMF กลายเป็นตัวช่วยในการสร้างความมั่นคง
.
[[1. บังคับออมระยะยาว
สิ่งที่เคยมองว่าเป็นข้อจำกัดกลายเป็นข้อดี เมื่อมองถึงการเกษียณ เพราะ RMF บังคับให้ถือครองจนถึงอายุ 55 ปี ทำให้เราจำเป็นต้องเก็บเงินในระยะยาว ไม่ถอนออกมาใช้ก่อน
ในขณะที่การลงทุน ระยะที่สั้นกว่านี้เรามักจะอดใจไม่ไหว (อย่างน้อยก้อผม คนนึงล่ะ ที่เคย) เอาเงินจากหน่วยลงทุน ที่ครบอายุแล้ว ไปใช้ซะก่อน อันนี้เรื่องของวินัยล้วนๆเลย
การเก็บระยะยาวให้เงินเติบโตได้เต็มที่ผ่านการทบต้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งแบบ long term กึ่งภาคบังคับ
[[2. การกระจายความเสี่ยงได้หลากหลาย
การเลือก RMF ยังมีความยืดหยุ่นในการเลือกประเภทสินทรัพย์ เช่น หุ้นในประเทศ หุ้นต่างประเทศ ตราสารหนี้ และทองคำ ซึ่งหมายความว่าเราสามารถวางแผนพอร์ตระยะยาวที่หลากหลาย และยิ่งถ้าซื้อโดย บลจ เดียวกัน ก็มักจะให้เราสลับกองได้ แบบไม่มีค่าธรรมเนียม ลดความเสี่ยงได้ตามสถานการณ์ตลาด
[[3. สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบต่อเนื่อง (ก็บังคับให้ซื้อทุกปี )
อีกจุดที่ทำให้สนใจคือสิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่ได้ทุกปี ช่วยลดภาระภาษีสะสม และเพิ่มเงินออมที่สามารถนำไปใช้ในวัยเกษียณ
4. ค่าธรรมเนียมต่ำกว่าในแผนเดียวกัน
พอลองเปรียบเทียบจริงๆ พบว่า RMF มักมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่ากองทุนอื่นที่มีนโยบายการลงทุนแบบเดียวกัน (แต่ไม่ทุกกองนะครับ เช็ครายละเอียดแต่ละกองก่อนน้า) เพราะออกแบบมาเพื่อการลงทุนระยะยาว ช่วยให้ผลตอบแทนสะสมได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย
.
จากคนที่ตอนแรกคิดเพียงแค่ลดหย่อนภาษีในระยะสั้น มาตอนนี้ RMF กลายเป็นกองทุนที่ตอบโจทย์การวางแผนเกษียณ พร้อมเติบโตทบต้น และเหมาะกับคนที่พร้อมจะ “อดทนรวย” โดยสร้างพอร์ตการลงทุนที่มั่นคงในระยะยาวกันครับ
Leave a Reply